NERAMIT
TECH STUDIO
การวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำ UX เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของการสืบค้นข้อมูล (Research) เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้ทีมสามารถทราบข้อมูลเชิงลึก (Insight), ความต้องการของผู้ใช้งาน และสนับสนุนการตัดสินใจของทีมได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามทีมพัฒนาและออกแบบ UX ควรคำนึงถึงระยะเวลาและขนาดโปรเจ็กต์ร่วมด้วย เนื่องจากบางครั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์นั้นต้องใช้ระยะเวลานาน แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรทำการวิเคราะห์ข้อมูล จะเป็นการดีที่สุดหากวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับโปรเจ็กต์เพราะมันจะทำให้เราสร้าง UI ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้ใช้ได้สมบูรณ์แบบที่สุด
เมื่อเราทราบความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำ UX เรียบร้อยแล้ว บทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็น (Reviews) ของกลุ่มผู้ใช้กับข้อมูลจริง ด้วย Perplexity AI โดยข้อมูลความคิดเห็นที่ได้นั้นมาจาก Play Store ของแอปพลิเคชัน Myfitnesspal ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสใช้งานแอปพลิเคชันนี้มาสักระยะเพื่อคอยบันทึกสารอาหารที่เรารับประทานไปในแต่ละมื้อ ซึ่งมันเหมาะกับผู้เขียนที่กำลังควบคุมอาหาร เลยรู้สึกชอบถูกใช้แอปพลิเคชันตัวนี้ แต่ไม่วายได้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นกันจะมีความรู้สึกไปในทิศแนวทางเดียวกันหรือเปล่า โดยผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมกับผู้อ่านนะครับ
วิธีและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีหากหลายวิธีเป็นอย่างมาก โดยจะใช้เทคนิคทั้งหมด 3 ตัวดังด้านล่างเพื่อทำหาข้อมูลเชิงลึก ด้วยการดำเนินการกับ LLMs แบบ Role-playing
เราจะใช้การดึงข้อมูลด้วย google-play-scraper ซึ่งเป็น python package และเมื่อดึงข้อมูลทั้งหมดมาแล้วจะทำความสะอาดข้อมูลด้วยการเอาเฉพาะข้อมูลเวอร์ชันล่าสุดของแอปและตัดคอลันม์ที่ไม่ต้องการออกไป และทำให้มีข้อมูล 3 ตัวคือ
content คือ ข้อความแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้
score คือ คะแนนรีวิวที่ให้ดาวของผู้ใช้
thumbsUpCount คือ คะแนนที่คนอื่น ๆ มากดถูกใจความคิดเห็น
I'm a UX/UI designer and I need to analyze review data from user feedback.
Analyze the overall sentiment of user review feedback
ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ prompt
Positive Sentiments: โดยรวมพบว่าแอปพลิเคชันนั้นใช้งานได้ง่ายสามารถติดตามและบรรลุปริมาณแคลอรี่และกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้ใช้ได้ นอกจากนั้นแอปพลิเคชันยังมีฐานข้อมูลอาหารขนาดใหญ่พร้อมสารอาหารต่าง ๆ
Negative Sentiments: โดยรวมทางแอปพลิเคชันได้ให้ความสำคัญกับฟังก์ชันพรีเมียมมากเกินไปจนผู้ใช้บางรายรู้สึกว่าเวอร์ชันฟรีไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เช่น ถอดเครื่องสแกนบาร์โค้ดออกจากเวอร์ชันฟรี และยังพบปัญหาเรื่องการซิงค์หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น และแม้ว่ามีฐานข้อมูลอาหารขนาดใหญ่ผู้ใช้ยังพบรู้สึกว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง โฆษณาที่มากเกินไปจนทำให้ผู้ใช้รู้สึกหงุดหงิด
Extract keywords for identifying common themes and concerns
ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ prompt สังเห็นประเด็นและข้อกังวลที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกที่ควรแก้ไข
จาก prompt จะทำให้เราทราบประเด็นและข้อกังวลของผู้ใช้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น เช่น เรื่องของ barcode scanner ควรเอากลับมาให้อยู่ในเวอร์ชันฟรีด้วย, ต้องมีการปรับปรุงความแม่นยำของสารอาหารในฐานข้อมูล, ต้องมีการปรับรูปแบบราคาของ Premium ใหม่ให้ต้องต่อความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น เป็นต้น
จากการทดลองการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้งานกับ Perplexity AI ซึ่งเป็น Feedback ที่นักพัฒนาและออกแบบ UX ต้องนำมาวิเคราะห์พิจารณาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตรงและตอบโจทย์ต่อความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น จากตัวอย่างจะทำให้เราทราบว่าประเด็นที่ควรได้รับการปรับปรุงและการแสดงออกทางอารมณ์ต่อแอปพลิเคชันของผู้ใช้ได้แบบเร็ว ๆ ด้วยการใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยแต่อย่างไรก็ตามควรระวังเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ข้อกฎหมายของบริษัทก่อนดำเนินการใช้งาน AI ไม่งั้นอาจจะโดนฟ้องเอาได้